ชี้แจงผลประกอบการไตรมาสที่ 2

กลับหน้าข่าว 15 พฤษภาคม 2550

เลขที่เรื่อง  COR:MS/EL07011t/pc
                                         วันที่  15  พฤษภาคม พ.ศ. 2550

เรื่อง    ชี้แจงผลประกอบการไตรมาสที่ 2
เรียน    กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ภาพรวม

        บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) ("บริษัทฯ") มีผลกำไรสุทธิ 3 เดือน สิ้นสุดวันที่
31 มีนาคม พ.ศ. 2550 (ไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 2550) เท่ากับ 1,291.86 ล้านบาท โดยรวมผลกำไร
จากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 270.02 ล้านบาทแล้ว และมีกำไรต่อหุ้น เท่ากับ 2.01 บาท

        สำหรับในงวดเดียวกันของปีก่อน คือ ไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549 (ไตรมาสที่ 2
ของปีบัญชี 2549) บริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิ 1,051.78 ล้านบาท โดยรวมผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน
487.20 ล้านบาทไว้แล้ว และมีกำไร  ต่อหุ้น เท่ากับ 1.63  บาท

        บริษัทฯ มีรายได้จากการดำเนินงานทั้งหมดในไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 2550 เท่ากับ 4,921.90
ล้านบาท มีรายจ่ายจากการดำเนินงานทั้งหมดในไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 2550 เท่ากับ 3,197.25 ล้านบาท
และมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เท่ากับ 636.19 ล้านบาท บริษัทฯ มีเงินสดรับจากกิจกรรมการดำเนินงานและกิจกรรม
จัดหาเงิน เป็นเงิน 3,037.99 ล้านบาท และ (95.17) ล้านบาทตามลำดับ และนำไปใช้ในกิจกรรมการ
ลงทุนเท่ากับ 2,528.47 ล้านบาท บริษัทฯ มีเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเพิ่มขึ้นเท่ากับ 414.35
ล้านบาท ในไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 2550

        อัตราค่าระวางเรือโดยเฉลี่ย รวมอัตราค่าระวางเรือที่บริษัทฯ เช่ามาเสริมกองเรือเพิ่มเติม
เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.11 จาก 10,777 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวันต่อลำในไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 2549
เป็น 14,453 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวันต่อลำใน    ไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 2550 จำนวนวันเดินเรือ
ลดลงร้อยละ 2.94 จาก 4,149 วัน ในไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 2549 เป็น 4,027 วันในไตรมาสที่ 2
ของปีบัญชี 2550

        การที่ผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นนั้นมีสาเหตุหลักจากอัตราค่าระวางเรือที่สูงขึ้น และค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น

                                                                     ...ต่อหน้า 2/


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)
หน้า 2                                               เลขที่เรื่อง COR:MS/EL07011t/pc



การวิเคราะห์ส่วนงานธุรกิจหลัก

        บริษัทฯ จะอธิบายผลประกอบการโดยอิงจากส่วนงานธุรกิจ 3 ประเภทหลักๆ ได้แก่ ธุรกิจเรือบรรทุก
สินค้าแห้งเทกอง ธุรกิจงานบริการนอกชายฝั่ง และธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ

        ธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง ธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองมีผลกำไรสุทธิ 887.75 ล้านบาท
ไม่รวมผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยเพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.89  เทียบกับระยะเวลา 3 เดือนสิ้นสุดวันที่ 31
ธันวาคม พ.ศ. 2549 (ไตรมาสที่ 1 ของปีบัญชี 2550) และไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 2550

        กำไรสุทธิที่เพิ่มสูงขึ้นมีสาเหตุหลักเนื่องมาจากอัตราค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้อัตราค่าระวาง
เรือโดยเฉลี่ย รวมอัตราค่าระวางเรือที่บริษัทฯ เช่ามาเสริมกองเรือเพิ่มเติมเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.01 จาก
12,789 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวันต่อลำ    ในไตรมาสที่ 1 ของปีบัญชี 2550  เป็น 14,453 ดอลลาร์
สหรัฐอเมริกาต่อวันต่อลำ ในไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 2550

        ปริมาณการขนส่งสินค้าทั้งหมดของกองเรือตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 31 มีนาคม
พ.ศ. 2550 ยังคงอยู่ในระดับสูงโดยมีปริมาณการขนส่งสินค้าจำนวน 6.4 ล้านตัน จากการที่ได้พูดคุยกับลูกค้า
บริษัทฯ เชื่อว่าความต้องการในการขนส่งสินค้าในตลาดหลักของเราที่ยังแข็งแกร่งอยู่ อาทิ จีน เอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และตะวันออกกลางยังคงดำเนินต่อไปด้วยดีในรอบปีบัญชีนี้

        จำนวนวันเดินเรือในไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 2550 เท่ากับ 4,027 วัน เทียบกับ 4,140 วันใน
ไตรมาสที่ 1 ของปีบัญชี 2550 ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 บริษัทฯ ได้รับมอบเรือทอร์ ฮอไรซัน ซึ่งเป็นเรือ
บรรทุกสินค้าแห้งเทกองมือสองที่มีความทันสมัย มีขนาดระวางบรรทุกเฉลี่ย 47,111 เดทเวทตัน นอกจากนี้
ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ปล่อยเช่าเรือแบบให้เช่าเหมาลำเป็นระยะเวลา (time charter)
ออกไปจำนวน 2-3 ลำ ซึ่งมีระยะเวลาการเช่าตั้งแต่เจ็ดเดือนถึงสามปี ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
เกี่ยวกับเรือเดินทะเลเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.46 เนื่องจากบริษัทฯ ได้เช่าเรือมาหลายลำเพื่อเสริมความต้องการ
ใช้เรือตามอุปสงค์ของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น และเรือที่เช่ามาเสริมกองเรือเหล่านี้ บริษัทฯ ต้องเสียค่าเช่าเรือใน
ราคาแพงขึ้นเช่นกัน

        ทั้งนี้ส่วนงานเดินเรือได้มีสัญญารับขนส่งสินค้าล่วงหน้าแบบเช่าเหมาลำเป็นระยะเวลาสำหรับรอบปี
บัญชี 2550 ไว้แล้วร้อยละ 31 ของระวางบรรทุกสินค้าทั้งหมดของบริษัทฯ และร้อยละ 17 ของระวางบรรทุก
สินค้าทั้งหมดของบริษัทฯ ในรอบปีบัญชี 2551 ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ มีรายได้จากการทำสัญญาไว้ล่วงหน้าแล้ว
ในปีหน้า

                                                                 ...ต่อหน้า 3/


บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)
หน้า 3                                               เลขที่เรื่อง COR:MS/EL07011t/pc


        ตลาดธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง ยังคงแข็งแกร่งในไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 2550 อัตรา
ค่าเช่าเรือในตลาดเช่าเรือระยะสั้นขนาด Supramax เพิ่มสูงขึ้นเกิน 36,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวัน
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 2550 และยังคงเพิ่มสูงขึ้นตลอดไตรมาส (44,481 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา
ต่อวัน ณ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2550) ทั้งนี้อัตราค่าเช่าเรือขนาด Supramax เฉลี่ยอยู่ที่วันละ
31,684 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกาต่อวันในไตรมาสนี้

        ประเทศจีนยังคงมีบทบาทสำคัญในตลาดธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง โดยยังคงมีการนำเข้า
เช่น แร่เหล็ก ถ่านหิน และธัญพืช ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการนำเข้าสินค้าต่างๆ ดังกล่าว
แล้ว ประเทศจีนยังส่งออกสินค้าเหล็กเพิ่มขึ้นเท่าตัว จากจำนวน 29.5 ล้านตัน ในปี 2548 เป็นจำนวน
54.5 ล้านตัน ในปี 2549

        รายงานจาก R.S. Platou เมื่อไม่นานมานี้ ได้คาดการณ์ไว้ว่า การเติบโตของความต้องการ
ขนส่งสินค้าแห้งเทกองในปี 2550 จะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 6.7 และการเติบโตของอุปทานของกองเรือจะ
เติบโตประมาณร้อยละ 6.6 ซึ่งนับได้ว่าอุปสงค์และอุปทานค่อนข้างตึงตัว ความแออัดของท่าเรือในประเทศต่างๆ
โดยเฉพาะในประเทศออสเตรเลีย เป็นเหตุให้อัตราค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก R.S. Platou
ประมาณว่า สถานการณ์ความแออัดของท่าเรือในขณะนี้ทำให้กองเรือขนาด Capesize ต้องติดอยู่ที่ท่าเรือต่างๆ
คิดเป็นปริมาณเกือบร้อยละ 8 ของจำนวนกองเรือ Capesize ทั่วโลก ซึ่งเป็นระดับที่สูงขึ้นกว่าปกติเป็นเท่าตัว
เมื่อใดก็ตามที่สถานการณ์ความแออัดในท่าเรือคลี่คลายลง อัตราค่าระวางเรือน่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอีก
อย่างไรก็ตาม ความสมดุลย์ระหว่างอุปทานและอุปสงค์จะเพิ่มขึ้นหรือลดลงไม่ต่างไปจากระดับที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
โดยอัตราการใช้ประโยชน์จากเรือคาดว่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 93 ถึงร้อยละ 96 ในช่วง 2 ? 3 ปีข้างหน้า

        ราคาเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองมือสองในตลาดโลกยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเรือขนาด
Supramax มือสอง อายุ 5 ปี มีราคา ณ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 เท่ากับ  52.09 ล้านดอลลาร์
สหรัฐอเมริกาต่อลำ ซึ่งเป็นราคาที่สูงมาก

        นอกจากนี้ตลาดเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองก็เกิดภาวะการเพิ่มขึ้นของปริมาณตันไมล์ด้วย (คือปริมาณ
การขนส่งสินค้าคูณด้วยระยะทาง) มีการคาดการณ์ว่า ประเทศบราซิลจะเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดจากการ
เป็นผู้ส่งออกแร่เหล็กในช่วงปี 2550 ซึ่งจะมีผลให้ปริมาณตันไมล์เพิ่มขึ้น และมีการเติบโตของการนำเข้า
ถ่านหินจากประเทศจีน ซึ่งหมายถึงประเทศเพื่อนบ้านของจีนจะต้องหาแหล่งผลิตถ่านหินจากบริเวณที่ใช้ระยะ
เวลาเดินเรือที่ยาวขึ้น เช่น จากประเทศอินโดนีเซีย และประเทศออสเตรเลีย

        เนื่องจากผลประกอบการทั้งสองไตรมาสแรกของปีบัญชี 2550 ของบริษัทฯ มีความแข็งแกร่ง บริษัทฯ
จึงคาดว่าผลประกอบการของกลุ่มธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองของบริษัทฯ จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง

                                                                   ...ต่อหน้า 4/

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)
หน้า 4                                                เลขที่เรื่อง COR:MS/EL07011t/pc


        ธุรกิจงานบริการนอกชายฝั่ง  บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน)  ("กลุ่มบริษัท
เมอร์เมด") มีผลประกอบการที่ดีในไตรมาสนี้ ในส่วนงานเรือขุดเจาะ (drilling segment) สามารถ
สร้างรายได้และผลกำไรให้แก่กลุ่มบริษัท เมอร์เมด ประมาณร้อยละ 45.76 และ 69.51 ตามลำดับ ของ
รายได้และผลกำไรทั้งหมดของกลุ่มบริษัท เมอร์เมด เรือขุดเจาะ เอ็มทีอาร์-1 และ เอ็มทีอาร์-2 ได้ปฏิบัติ
งานอย่างเต็มที่ในไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 2550 โดยปฏิบัติงานอยู่ที่ประเทศอนิโดนีเซียและประเทศไทย
ตามลำดับ

        ตลาดเรือขุดเจาะยังคงมีความแข็งแกร่งทุกประเภทและทุกชนิดที่เป็นเรือขุดเจาะที่เคลื่อนย้ายได้
(mobile offshore drilling units) ความผันผวนของราคาน้ำมันในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมานั้นไม่มี
ผลกระทบต่ออุปสงค์ของบริษัทผู้ค้าน้ำมันในการใช้บริการเรือขุดเจาะนอกชายฝั่ง นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าที่ผ่านมา
จะมีการสั่งต่อเรือขุดเจาะใหม่หลายลำ แต่อัตราค่าเช่าเรือขุดเจาะก็ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

        สภาวะตลาดของเรือขุดเจาะแบบ tender rig ยังคงดีอยู่ และอัตราค่าเช่าเรือที่เพิ่มสูงขึ้นต่อวัน
สำหรับเรือขุดเจาะแบบ jack-ups มีผลกระทบในเชิงบวกต่ออัตราค่าเช่าเรือขุดเจาะแบบ tender rig
นอกจากนี้บริษัทผู้ค้าน้ำมันรายต่างๆ มักจะขอทำสัญญาล่วงหน้าก่อนการเริ่มปฏิบัติงาน ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดี
ในการทราบปริมาณงานที่จะต้องทำและก่อให้เกิดการเติบโตทางธุรกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ บริษัทฯ
คาดหวังว่าสภาวะแวดล้อมทางตลาดจะยังคงดีอย่างต่อเนื่อง

        สินทรัพย์ในส่วนธุรกิจวิศวกรรมโยธาใต้น้ำ มีอัตราการใช้ประโยชน์จากเรือสูงถึงร้อยละ 51 ใน
ระหว่างไตรมาสและสร้างรายได้และผลกำไรให้แก่กลุ่มบริษัท เมอร์เมด ประมาณร้อยละ 54.35 และ 34.07
ตามลำดับของรายได้และผลกำไรทั้งหมดของกลุ่มบริษัท เมอร์เมด การสำรวจ การพัฒนา การบำรุงรักษาและ
ปรับปรุงสภาพของโครงสร้างต่างๆ กลางทะเลมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการ
ใช้งานได้ดี ทำให้เรือสำรวจและสนับสนุนงานเทคนิคใต้น้ำทั่วภูมิภาคต่างๆ ของโลกมีอัตราการใช้อย่าง
หนาแน่นมาก  ซึ่งรวมถึง ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นที่น่าประหลาดใจว่า ในฤดูหนาวที่ผ่านมา
เป็นช่วงที่ดีที่สุดของในการใช้เรือสำรวจและสนับสนุนงานเทคนิคใต้น้ำของกลุ่มบริษัท เมอร์เมด และอัตรา
การใช้ประโยชน์จากเรือสำรวจและสนับสนุนงานเทคนิคใต้น้ำในไตรมาสที่ 2 ของปีบัญชี 2550 ค่อนข้างสูง

        มีการคาดการณ์ว่า ตลาดธุรกิจนอกชายฝั่งในอนาคตจะยังคงดีอยู่อย่างต่อเนื่องและมีกิจกรรมทาง
ธุรกิจในระดับสูง ในปี 2550 - 2551 อุปสงค์ของเรือสำรวจและสนับสนุนงานเทคนิคใต้น้ำคาดว่าจะสูงขึ้น
เนื่องจากปริมาณเรือขุดเจาะที่ปฏิบัติงานได้มีเพิ่มมากขึ้น รวมถึงกิจกรรมการพัฒนาธุรกิจนอกชายฝั่งที่ขยายตัว
เพิ่มขึ้น และแม้ว่าจะมีแรงกดดันในเรื่องราคาเรือสำรวจและสนับสนุนงานเทคนิคใต้น้ำที่มีราคาแพงและการ
ส่งมอบเรือที่กินเวลานาน แต่จำนวนเรือที่มีการสั่งต่อใหม่ก็ยังคงมีตัวเลขค่อนข้างสูง ซึ่งอาจจะมีผลกระทบ
ทางลบต่ออนาคตของอัตรากำไรที่สูงในขณะนี้

                                                                  ...ต่อหน้า 5/

บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)
หน้า 5                                               เลขที่เรื่อง COR:MS/EL07011t/pc


        กลุ่มบริษัท เมอร์เมด มีส่วนแบ่งรายได้ให้กับบริษัทฯ จำนวน 1,012.05 ล้านบาท และมีส่วนแบ่ง
กำไรสุทธิให้กับบริษัทฯ (หลังจากหักส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย) เท่ากับ 153.14 ล้านบาท โดยไม่รวมผลกำไร
จากอัตราแลกเปลี่ยน

        ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ สำหรับส่วนงานบริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือนั้นมี
ส่วนแบ่งกำไรสุทธิให้กับบริษัทฯ (หลังจากหักส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย) เท่ากับ 40.65 ล้านบาท โดยไม่รวม
กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยที่บริษัท โทรีเซน ชิปปิ้ง เอฟแซดอี มีส่วนแบ่งกำไรให้กับบริษัทฯ สูงสุด
รองลงมา ได้แก่ บริษัท เฟิร์นเล่ย์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งมีรายได้จากค่านายหน้าและมีผลกำไรเพิ่มขึ้น
ตามภาวะตลาดเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองที่แข็งแกร่ง

        หากไม่รวมกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยแล้ว ในไตรมาสที่ 2 ของรอบปี
บัญชี 2550 นี้ บริษัทฯ สามารถสร้างผลกำไรสุทธิสูงขึ้นจากเดิมติดต่อกันสี่ไตรมาสแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึง
ประโยชน์จากกลยุทธ์การกระจายส่วนงานธุรกิจของบริษัทฯ (diversification strategy) และความ
แข็งแกร่งของทั้งธุรกิจเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกองและธุรกิจงานบริการนอกชายฝั่ง

                                    ขอแสดงความนับถือ
                         บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน)




                 (ม.ร.ว. จันทรแรมศิริโชค จันทรทัต)  (ม.ล. จันทรจุฑา จันทรทัต)
                        ประธานกรรมการ              กรรมการผู้จัดการ